เรื่องควรรู้เกี่ยวกับการทิ้งขยะและการรีไซเคิลในญี่ปุ่น ความลับของความสะอาด!

การกำจัดของเสียในญี่ปุ่นนั้นค่อนข้างจะซับซ้อนมากกว่าประเทศอื่นๆ ในที่สาธารณะจะมีถังขยะไม่กี่แบบตั้งอยู่ตามถนนและส่วนมากจะเป็นถังขยะรีไซเคิล ส่วนที่บ้านนั้นก็ไม่ได้ยุ่งยากน้อยลงสักเท่าไหร่เพราะแต่ละเขตก็จะมีกฎการทิ้งขยะตามแต่ละเขตที่อาศัยอยู่ เราจึงได้รวบรวมมูลเกี่ยวกับความลับของขยะในญี่ปุ่นไว้ในบทความนี้ อ่านแล้วเข้าใจง่ายขึ้นแน่นอน!

แผนการท่องเที่ยวคัดสรรค์โดยนักเขียน tsunagu Japan!

บทความนี้อาจมีลิงก์พาร์ทเนอร์ หากคุณทำการซื้อผ่านลิงก์พาร์ทเนอร์ เราอาจได้รับค่าคอมมิชชั่นโดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมสำหรับคุณ

ทำไมการทิ้งขยะในญี่ปุ่นถึงซับซ้อนมากๆ

ระบบการแยกขยะของญี่ปุ่นนั้นมีมีความจำเป็นที่จะต้องซับซ้อนมากกว่าประเทศอื่นๆ ด้วยความที่ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีประชากรหนาแน่นและมีพื้นที่ฝังกลบจำกัด ซึ่งจะทำให้เกิดการสร้างขยะจำนวนมากแต่ไม่มีที่ที่จะกำจัด ไม่เหมือนกับประเทศอื่นๆ ที่มีประชากรจำนวนมาก เช่น อเมริกาหรือ จีน

วิธีลดการฝังกลบก็คือการที่ขยะจำนวนมากของญี่ปุ่นจะต้องถูกนำไปเผาทิ้ง ซึ่งเป็นอีกเหตุผลว่าทำไมการแยกขยะจึงจำเป็นอย่างมาก วัสดุที่แตกต่างกันต้องใช้วิธีการเผาที่แตกต่างกัน และการรวมทุกอย่างเข้าด้วยกันจะสร้างความปวดหัวให้กับพนักงานกำจัดขยะที่ต้องทำงานอย่างหนัก

ความจริงเกี่ยวกับการรีไซเคิลในญี่ปุ่น

ระบบการแยกขยะของรัฐสร้างความประทับใจให้กับหลายๆ คนว่าญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการรีไซเคิลดีที่สุดในโลก แต่ในความเป็นจริงแล้วมันไม่ได้เป็นอย่างนั้นสักเท่าไหร่ จากการรายงานของ Waste Atlas ระบุไว้ว่าญี่ปุ่นมีอัตราการรีไซเคิลอยู่ที่ 20.8%

อย่างไรก็ตาม ของสิ่งหนึ่งที่ญี่ปุ่นรีไซเคิลได้ดีก็คือ ขวด PET (ขวดพลาสติก) ขวดที่เห็นโดยทั่วๆ ไปในตู้ขายอัตโนมัติ ญี่ปุ่นนั้นได้คิดค้นระบบที่จะละลายพลาสติกของขวดและเปลี่ยนมันเป็นเรซิ่นบริสุทธิ์ซึ่งสามารถนำเรซิ่นเหล่านี้ไปทำเป็นขวดพลาสติกใหม่หรือเอาไปทำสินค้าชนิดอื่น เช่น เสื้อหรือพรมได้

ความสำเร็จของนวัตกรรมรีไซเคิลนี้คือเหตุผลที่ว่าทำไมถังขยะสำหรับขวดพลาสติกจึงเป็นถังขยะที่พบได้ทั่วไปมากที่สุดบนถนนของญี่ปุ่น และยังเป็นเหตุผลที่สำคัญว่าทำไมคุณถึงไม่ควรจะทิ้งขยะอื่นๆ ลงไปในถังขยะสำหรับขวดพลาสติกเนี่องจากมันจะขัดขวางการทำงานของระบบนั่นเอง

ไปทิ้งขยะของตนเองได้ที่ไหน

ถ้าคุณไม่สามารถทิ้งพลาสติกห่อข้าวปั้นของคุณลงในถังขยะสำหรับขวดพลาสติกใกล้ๆ กับตู้ขายอัตโนมัติได้ งั้นจะทิ้งที่ไหนได้บ้างล่ะ นี่เป็นคำถามที่นักท่องเที่ยวส่วนมากถามเมื่อเดินทางมาถึงญี่ปุ่น

ในสถานีรถไฟมักจะมีถังขยะเรียงเป็นแถวอยู่ ด้านบนของถังจะมีเขียนกำกับประเภทของขยะที่ทิ้งได้บอกไว้พร้อมกับสัญลักษณ์ ขยะรีไซเคิลเป็นถังที่พบได้ทั่วไป แต่บางสถานีก็มีถังขยะทั่วไปที่คุณสามารถทิ้งพลาสติกและกระดาษที่เผาได้

ที่ร้านสะดวกซื้อเองก็มักจะมีถังขยะทุกประเภทตั้งเรียงรายอยู่ แถมร้านก็มีอยู่ทั่วไปเลยเป็นจุดที่ดีสำหรับการทิ้งขยะ อีกทางเลือกหนึ่งสำหรับการทิ้งขยะก็คือการทำตามคนญี่ปุ่นส่วนใหญ่ ซึ่งก็คือการเอาใส่กระเป๋าแล้วเอากลับไปทิ้งที่บ้านเพื่อจะได้ทิ้งได้อย่างถูกต้อง

แผนการท่องเที่ยวคัดสรรค์โดยนักเขียน tsunagu Japan!

ทำไมญี่ปุ่นถึงไม่ค่อยมีถังขยะ

เหตุผลที่เมืองใหญ่ๆ ในญี่ปุ่นไม่ค่อยมีถังขยะในที่สาธารณะนั้นมีอยู่สองประการ หนึ่งคือการกระตุ้นเพื่อลดจำนวนขยะลงให้น้อยที่สุด

ส่วนอีกเหตุผลหนึ่งคือเรื่องความปลอดภัย ในปี 1995 ระบบรถไฟใต้ดินของโตเกียวตกเป็นเหยื่อของการก่อการร้ายภายในประเทศที่เรียกว่าการโจมตีโตเกียวเมโทรด้วยซาริน (Tokyo Subway Sarin Attack) ผู้ก่อเหตุใช้แก๊สเป็นอาวุธหลัก สังหารคนไปทั้งสิ้น 12 ราย บาดเจ็บมากกว่า 1,000 ราย และส่งผลถึงจิตใจของคนในประเทศไปตลอดกาล

ถ้ามีถังขยะน้อยลง ก็จะทำให้โอกาสการลักลอบนำวัตถุอันตรายเข้ามาน้อยลง ทำให้ในปัจจุบันถังขยะส่วนมากจะเป็นถังขยะแบบใสเพื่อความปลอดภัยเช่นกัน

Klook.com

ขยะภายในบ้าน

การกำจัดขยะเป็นเรื่องของการจัดการในระดับเขตการปกครอง ซึ่งหมายความว่าในแต่ละเขตก็จะมีความแตกต่างกันไป แต่นั้นยังไม่ใช่ที่สุด เพราะแต่ละเขตใน 23 เขตในโตเกียวต่างก็มีระบบกำจัดขยะเป็นของตนเอง

เมื่อคุณย้ายเข้ามาหรือย้ายที่อยู่ภายในญี่ปุ่น หนึ่งในสิ่งแรกๆ ที่คุณต้องทำเลยก็คือการไปสำนักงานเทศบาลเพื่อไปลงทะเบียนผู้อยู่อาศัย ในขณะที่ทำการลงทะเบียนนั้นก็จะมีการแจกเอกสารเกี่ยวกับระเบียบการจัดเก็บขยะสำหรับเขตนั้นๆ หลายๆ เขตก็จะมีป้ายโค้ดสีอยู่บนเสาด้านนอกบริเวณที่อยู่อาศัยเพื่อเตือนผู้คนว่าวันไหนเป็นวันเก็บขยะประเภทอะไรบ้าง

Airbnb และโฮสเทลเองก็มักจะขอให้แขกทำตามกฎการทิ้งของพื้นที่นั้นๆ ส่วนใหญ่แล้วที่พักมักจะมีหนังสือชี้แจงหรือโปสเตอร์แสดงวิธีการและสถานที่ในการทิ้งขยะรีไซเคิลและขยะมูลฝอยอย่างชัดเจน

ขยะประเภทหลักๆ

ขยะจะมีหลักๆ อยู่ 4 ประเภท แต่ก็อาจแตกต่างออกไปได้ตามท้องที่ที่คุณอาศัยอยู่ 4 ประเภทอาจจะดูเยอะ แต่ในเมือง Kakimatsu ในภูมิภาค Shikoku นั้นมีการแบ่งถึง 44 ประเภทเลยทีเดียว ประเภทหลักๆ คือ

1. ขยะเผาได้ หรือ moeru gomi (燃えるごみ)
ขยะเผาได้คือขยะทั่วๆ ไป เช่น กระดาษ (กระดาษชำระ) ถุงพลาสติกและพลาสติกห่ออาหาร ผ้า เปลือกอาหาร และสิ่งของอื่นๆ ที่คล้ายกัน ขยะประเภทนี้เป็นขยะส่วนมากที่คนมักจะทิ้งกัน และมักจะมีการเก็บ 2 ครั้งต่อสัปดาห์

2. ขยะเผาไม่ได้ หรือ moenai gomi (燃えないごみ)
ขยะเผาไม่ได้คือขยะที่ไม่สามารถเผาได้ง่ายๆ เช่น พลาสติกหนาๆ อย่างถังน้ำ ของที่เป็นแก้วอย่างหลอดไฟ เซรามิค ร่ม และพวกโลหะต่างๆ เครื่องใช้ในครัวเรือนขนาดเล็ก และของใช้ส่วนตัวอื่นๆ เช่น กระป๋องสเปรย์และใบมีด ทั้งหมดนี้จะรวมไว้ในขยะที่ไม่สามารถเผาได้ ขยะประเภทนี้มักจะมีการเก็บเดือนละ 1 ครั้ง

3. รีไซเคิลได้ หรือ shigen gomi (資源ごみ)
การแยกขยะสำหรับการรีไซเคิลเป็นเรื่องจริงจังสำหรับญี่ปุ่น ขยะในประเภทนี้ยังแบ่งย่อยออกไปอีกเป็น 3 ประเภท คือ กระป๋อง (カン) ขวดแก้ว (びん) และ ขวดพลาสติก (ペットボトル) ขยะพวกนี้จะต้องถูกแยกและมักจะมีการเก็บสัปดาห์ละ 1 ครั้งหรือทุกๆ 14 วัน โดยแต่ละประเภทก็จะถูกเก็บในวันที่ต่างกันไป

4. ขยะขนาดใหญ่ หรือ sodai gomi (粗大ごみ)
ขยะขนาดใหญ่คือขยะทั่วๆ ไปในแต่ละวันที่มีขนาดใหญ่กว่าปกติ ในแต่ละพื้นที่ก็จะมีคำนิยามที่ต่างกันไปว่าอะไรที่ถือว่ามีขนาดใหญ่กว่าปกติ แต่โดยกฎทั่วไปแล้วจะหมายถึงอะไรก็ตามที่มีความยาวมากว่า 30 เซนติเมตร จะถือว่าเป็นขยะขนาดใหญ่ การกำจัดขยะประเภทนี้จะต้องมีการนัดหมายและเสียค่าทิ้ง
ถ้าคุณอยากจะทิ้งอะไรใหญ่ๆ ลงในถังขยะ คุณจะต้องโทรไปที่หน่วยงานของเทศบาลท้องถิ่น และสั่งสติกเกอร์ที่เรียกว่า ตั๋วกำจัดขยะขนาดใหญ่ "sodai gomi shori ken" (粗大ごみ処理券) ตั๋วนี้จะเป็นการยืนยันว่าคุณได้จ่ายค่าธรรมเนียมการทิ้งแล้ว และเมื่อถึงวันที่คุณเลือกไว้ คุณก็สามารถทำขยะไปทิ้งไว้ยังจุดทิ้งขยะได้

ไปทิ้งขยะตอนไหนดี

ไม่ว่าคุณจะอาศัยอยู่ที่ญี่ปุ่นหรือแค่มาเที่ยวก็ตาม แต่เจ้าของ Airbnb และโรงแรมต่างก็หวังว่าแขกจะปฏิบัติตามกฎของท้องถิ่น ถ้าแขกไม่ปฏิบัติตามก็จะมีโอกาสถูกตั้งเป็นแบล็กลิสต์หรือถูกตักเตือนได้

ถ้าคุณอาศัยอยู่ในญี่ปุ่นมาสักพักแล้ว การทิ้งขยะก่อนถึงวันเก็บขยะจะเป็นประเด็นร้อนที่ทำให้เกิดข้อพิพาทกับเพื่อนบ้านได้ แถมมันยังเป็นตัวล่ออีกาอันแสนดุของญี่ปุ่นชั้นดีเลยทีเดียว อีกาตัวใหญ่ๆ พวกนี้ชอบที่จะฉีกถุงขยะพลาสติกที่วางตากแดดเอาไว้จนร้อนแล้วทำให้ขยะกระจายเกลื่อนเต็มถนน

อีกาเป็นหนึ่งในเหตุผลหลักที่คุณจะเห็นว่าขยะของญี่ปุ่นส่วนมากจะถูกวางไว้ใต้ตาข่ายหรือในกล่องที่มีตาข่ายคลุมปิดไว้เพื่อรอการเก็บ และอีกาพวกนี้ก็เป็นอีกเหตุผลที่คุณควรจะทิ้งขยะโดยให้มีระยะเวลาการรอเก็บน้อยที่สุด เวลาทิ้งขยะที่ดีที่สุดคือช่วงเข้าตรู่ของวันเก็บขยะ แต่ในส่วนของนักท่องเที่ยว แค่ทำตามคำแนะนำที่ทางที่พักบอกไว้ก็เพียงพอแล้ว
 

แม้ว่ามันอาจจะดูยุ่งยากมากกว่าประเทศอื่นๆ แต่ระบบการจัดการขยะของญี่ปุ่นก็ไม่ได้ใช้เวลาทำความคุ้นเคยมากขนาดนั้น เช่นเดียวกับระบบรถไฟของญี่ปุ่น แม้ว่าจะดูเยอะแยะมากในตอนแรก แต่ทุกสิ่งจะเริ่มกระจ่างและมีเหตุผลเมื่อคุณค่อยๆ เข้าใจมัน

จำเอาไว้ง่ายๆ เพียงแค่รู้ว่าคุณสร้างขยะมากขนาดไหน และพยายามรีไซเคิลในทุกๆ ครั้งที่ทำได้ เท่านี้คุณก็จะไม่มีปัญหาอะไรแล้วล่ะ

Header image credit: Miyuki Satake/ Shutterstock
 

หากมีคำถาม คำแนะนำ หรือข้อเสนอแนะใดๆ เกี่ยวกับบทความของเรา สามารถติดต่อและติดตามเราผ่านทางเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ และอินสตาแกรม ได้เลย !

มนต์เสน่ห์คันโต

เนื้อหาในบทความนี้ อัพเดทล่าสุด ณ วันที่เผยแพร่

รับส่วนลดมากมายในญี่ปุ่น ที่นี่!

เกี่ยวกับนักเขียน

Lucy
Lucy Dayman
Lucy เป็นนักเขียนอิสระอยู่ในโตเกียว เป็นคนออสเตรเลีย ชอบเรื่องเพลง เคยเป็นบรรณาธิการของนิตยสารเพลงในเมลเบิร์น แต่ชอบงานใหม่ของเธอที่แบ่งปันมุมที่ไม่ค่อยถูกมองข้าม และมีคนชื่นชมน้อยกว่า ของญี่ปุ่นกับส่วนอื่นๆ ของโลก ปัจจุบันเธอเขียนให้กับสิ่งพิมพ์ต่างๆ มากมาย ทั้งในญี่ปุ่นและทั่วโลก เว็บไซต์: https://www.lucydayman.com/ อินสตาแกรม: https://www.instagram.com/lucy.dayman/
  • แผนการท่องเที่ยวคัดสรรค์โดยนักเขียน tsunagu Japan!

ค้นหาร้านอาหาร