ที่มาของข้าวกล่อง 'เอกิเบน' - สิ่งล้ำค่าที่ขาดไม่ได้ของรถไฟชินคันเซ็นทุกสาย!

`'เบนโตะ' หรือข้าวกล่องนั้นเป็นส่วนที่ขาดไม่ได้ของวัฒนธรรมการกินของชาวญี่ปุ่น มีให้ลิ้มลองได้หลายรูปแบบ รวมถึงเบนโตะสุดแปลกตาอย่างข้าวกล่องรถไฟหรือที่เรียกกันว่า 'เอกิเบน' ซึ่งมาจากคำว่า 'เอกิ' หมายถึงสถานีรถไฟและ 'เบน' ซึ่งมาจากคำว่าเบนโตะนั่นเอง เดิมทีเอกิเบนจะจำหน่ายตามชานชาลาในสถานีแล้วจึงนำมาขายบนรถไฟในภายหลัง เอกิเบนแต่ละกล่องล้วนมีเอกลักษณ์เป็นของตัวเองและพร้อมที่จะยั่วให้คุณน้ำลายสอ มาอ่านความเป็นมาและรู้จักกับความน่าหลงใหลของเจ้าเอกิเบนนี้กันเถอะ!

แผนการท่องเที่ยวคัดสรรค์โดยนักเขียน tsunagu Japan!

บทความนี้อาจมีลิงก์พาร์ทเนอร์ หากคุณทำการซื้อผ่านลิงก์พาร์ทเนอร์ เราอาจได้รับค่าคอมมิชชั่นโดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมสำหรับคุณ

เมื่อ 100 กว่าปีที่แล้วในสมัยที่ทั้งรถยนต์และเครื่องบินยังไม่เป็นที่แพร่หลายนักในประเทศญี่ปุ่น รถไฟเป็นทางเลือกหลักในการเดินทางไปพื้นที่ที่ห่างไกล เมื่อใดที่รถไฟเทียบสถานี พ่อค้ามากมายจะเร่เข้ามาในรถไฟและตะโกนเรียกลูกค้าให้มาลองชิมอาหารของตนเอง

สำหรับคนญี่ปุ่นในยุคนั้นการอุดหนุนเบนโตะถือเป็นส่วนหนึ่งของความเพลิดเพลินในการเดินทางด้วยรถไฟ ทำให้ในปัจจุบันการรับประทานเบนโตะบนรถไฟได้รับความนิยมและกลายเป็นเรื่องที่ขาดไม่ได้ 

อย่างไรก็ตามเอกิเบนก็ยังคงเป็นองค์ประกอบสำคัญสำหรับรถไฟทุกสายตั้งแต่เหนือจรดใต้ของญี่ปุ่น เอกิเบนหลากสไตล์ที่ใช้วัตถุดิบพื้นบ้านยังคงได้รับความนิยม และกล่องเบนโตะเล็กๆ เหล่านี้เองจะมอบประสบการณ์สุดแปลกใหม่ในการเดินทางในญี่ปุ่นให้คุณ!

ต้นกำเนิดของเอกิเบนนั้นมีหลายทฤษฏี แต่การบันทึกที่เป็นทางการที่สุดบันทึกไว้ว่าเริ่มมีการขายเอกิเบนเมื่อปีที่ 18 ของยุคเมจิ (พ.ศ. 2428) เมื่อ JR เปิดให้บริการรถไฟสายที่เชื่อมระหว่างสถานีโอมิยะ (Omiya) ในจังหวัดไซตามะไปจนถึงสถานี Utsunomiya จังหวัดโทชิกิ (Tochigi) โดย Shirokiya Ryokan ใน Utsunomiya เป็นเจ้าแรกที่ขายเบนโตะในสถานีรถไฟของญี่ปุ่น ทำให้เรียวกังนี้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในฐานะผู้ให้กำเนิดเอกิเบน

เพียงแต่ในยุคนั้นเบนโตะจะมีแค่ข้าวปั้นกับหน่อไม้ดองห่อในฝักไผ่ซึ่งขายที่ราคาประมาณ 600 เยน อาจเป็นราคาที่ดูขูดรีดกันสำหรับผู้คนในสมัยนี้ แต่ในยุคเมจิข้าวนั้นขาดแคลนและเป็นสิ่งที่ล้ำค่ายิ่งนัก

เพราะเอกิเบนสามารถกินได้แค่บนรถไฟเท่านั้น ในช่วงแรกจึงนับเป็นของหรูหราสำหรับคนชั้นสูง ในปีที่ 20 ของยุคโชวะ (1945) เอกิเบนเริ่มมีสไตล์ความเป็นท้องถิ่นมากขึ้น ใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพ ในช่วงนี้เอกิเบนได้กลายมาเป็นสิ่งที่ทุกคนเข้าถึงได้ ไม่จำกัดแค่คนชั้นสูงอีกต่อไป ดังนั้นเอกิเบนจึงเริ่มผุดสไตล์ใหม่ๆ แตกต่างกันไปตามท้องถิ่น

ตามที่ได้กล่าวไว้ว่า เอกิเบนยุคก่อนนั้นจะมีเพียงแค่ข้าวปั้นกับหัวไชเท้าดอง แต่เมื่อกาลเวลา เอกิเบนก็พัฒนาไปและมีความหลากหลายมากขึ้น เชื่อไหมว่าในปัจจุบันมีเอกิเบนมากกว่า 4,000 ชนิด!! โดยใช้วัตถุดิบชั้นเลิศเช่น ปู ไข่หอยเม่นหรือหอยเชลล์อัดแน่นเต็มกล่องควบคู่ไปกับวัตถุดิบเอกลักษณ์ประจำท้องที่ แถมยังใช้กล่องที่มีดีไซน์แปลกตา และลวดลายสวยงาม

วัตถุดิบพื้นบ้านที่นิยมใช้ในเอกิเบนมีหลายอย่าง เช่น ปลาหมึกยักษ์อาคาชิ (Akashi), ซีฟู้ดฮอกไกโด, ไก่ฮิไน (Hinai) จังหวัดอาคิตะ (Akita), ปลาไหลโตเกียว, ปลาแซลมอนเมืองอิชิคาริ (Ishikari), หมูดำอิวาเตะ (Iwate), เนื้อวัวโยเนซาว่า (Yonezawa) และลิ้นวัวเซนได

ส่วนเอกิเบนที่มีชื่อเสียงและได้รับความนิยมก็มีหลายแบบเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น Kamameshi (釜飯) หรือข้าวอบในหม้อสไตล์ญี่ปุ่นของดีย่านโอกิโนยะ (Oginoya) จังหวัดกุนมะ ซึ่งทั้งส่วนผสมและข้าวจะถูกอบรวมกันในหม้อหม้อเซรามิกเนื้อเนียนละเอียด 

หรืออีกเมนูคือ Shamoji-kakimeshi (しゃもじかきめし) ของดีประจำจังหวัดฮิโรชิม่า ที่มีทั้งข้าวอบหอยนางรมกับหอยนางรมทอดกรอบอัดแน่นลงไปในภาชนะทรงทัพพีตักข้าว ภาชนะทรงทัพพีตักข้าวว่าแปลกแล้ว แต่จริงๆ แล้วยังมีภาชนะรูปทรงแปลกๆ อีกมากมาย ทั้งรูปทรงตุ๊กตาดารุมะ มนุษย์หิมะ หรือแม้กระทั่งรูปทรงปู! เอกิเบนที่อุ่นร้อนได้เองก็มีนะ! 

ปกติชาวญี่ปุ่นจะดื่มชาควบคู่ไปกับการรับประทานเอกิเบน ในยุคนี้คงจะเป็นน้ำชาแบบขวดหรือไม่ก็กระป๋อง แต่ในยุคเมจิถึงไทโช ส่วนใหญ่จะขายน้ำชาโดยบรรจุในกาน้ำชาเครื่องปั้นดินเผา Shigaraki (เครื่องปั้นดินเผาจากจังหวัดซากะ) หรือบรรจุในขวดแก้ว กาน้ำชา Shigaraki ถูกเรียกว่า Kisha dobin (汽車土瓶)  หรือกาน้ำชาที่ใช้บนรถไฟ ซึ่งฝาปิดกานี้จะสามารถนำมาใช้เป็นถ้วยดื่มชาได้ เครื่องใช้เซรามิคหรือแก้วค่อยๆ หายไปตามกาลเวลาเพราะน้ำหนักและความเปราะปาง แต่อย่างไรก็ตามก็ยังมีย่านที่วางขายของพวกนี่อยู่จนถึงทุกวันนี้ เช่น ที่สถานี Kobuchizawa จังหวัดยามานาชิ หรือไม่ก็เปิดขายตามที่ต่างๆ ในช่วงเวลาพิเศษ

กลุ่มพ่อค่าญี่ปุ่นทั้งหลายก็ไม่ได้หยุดเพียงแค่ในประเทศเท่านั้นแต่ยังส่งออกเอกิเบนให้กับประเทศอื่นๆ อีกด้วย เช่นเบนโตะไก่ใส่บรรจุภัณฑ์ทรงชินคันเซ็นที่วางขายในประเทศสิงค์โปร คนต่างชาติอาจไม่คุ้นเคยกับการกินอาหารที่ไม่ร้อน พ่อครัวจึงนิยมใส่ซูชิที่คนส่วนใหญ่รับประทานแบบไม่ร้อนได้ลงไปแทนข้าวเย็นๆ ที่ใช้ในเบนโตะ ส่วนยอดขายเบนโตะในไต้หวันเองก็ขายดีทะลุเป้า ยิ่งถ้ามีแถลงข่าวก่อนหน้าช่วงที่จะเริ่มวางขายในงานอีเว้นต์ เบนโตะญี่ปุ่นก็มักจะหมดสต๊อกอย่างรวดเร็ว หลังจากนี้เอกิเบนจะไปวางขายที่ประเทศอีกกันนะ? มาคอยติดตามไปพร้อมๆ กันเถอะ!

หากมีคำถาม คำแนะนำ หรือข้อเสนอแนะใดๆ เกี่ยวกับบทความของเรา สามารถติดต่อและติดตามเราผ่านทางเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ และอินสตาแกรม ได้เลย !

เนื้อหาในบทความนี้ อัพเดทล่าสุด ณ วันที่เผยแพร่

รับส่วนลดมากมายในญี่ปุ่น ที่นี่!

เกี่ยวกับนักเขียน

Lily
Lily
  • แผนการท่องเที่ยวคัดสรรค์โดยนักเขียน tsunagu Japan!

ความสนใจที่เกี่ยวข้อง

ค้นหาร้านอาหาร