โตเกียว "Arigatou" โอซาก้า "Okini"?! คำว่า "ขอบคุณ" 51" แบบของประเทศญี่ปุ่น

คนที่ไม่ค่อยรู้ภาษาญี่ปุ่นหลายๆ คนก็ยังรู้จักคำว่า "Arigatou" กัน ใครๆ ก็พยายามใช้กันเพื่อแสดงความขอบคุณเมื่อไปเยือนญี่ปุ่นครับ สำหรับคนที่พูดญี่ปุ่นคล่องๆ นั้นก็คงไม่พูดแค่ "Arigatou" แต่ยังพูดถึง "Arigatou Gozaimasu" หรือไม่ก็ "Arigatou Gozaimashita" กันอีกด้วย รู้หรือไม่ครับว่าคำว่า "Arigatou" นั้นยังมีภาษาถิ่นที่แตกต่างกันไปในแต่ละท้องที่ เหมือนๆ กับภาษาท้องถิ่นบ้านเรา ไหนๆ ก็ได้ไปเยือนญี่ปุ่นแล้วลองมาพูดคำว่า "Arigatou" ในภาษาถิ่นกันดูไหม หากได้สื่อสารคำว่า "Arigatou" เป็นภาษาถิ่นแล้วล่ะก็คงทำให้คนในท้องถิ่นนั้นดีใจมากจนยิ้มออกมาเลยล่ะ

แผนการท่องเที่ยวคัดสรรค์โดยนักเขียน tsunagu Japan!

บทความนี้อาจมีลิงก์พาร์ทเนอร์ หากคุณทำการซื้อผ่านลิงก์พาร์ทเนอร์ เราอาจได้รับค่าคอมมิชชั่นโดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมสำหรับคุณ

*คำขอบคุณที่อธิบายในบทความนี้อาจจะไม่ได้สื่อสารกันรู้เรื่องกันทั่วทั้งประเทศญี่ปุ่นเวลาใช้ต้องระวังนะครับ แต่ละท้องถิ่นก็มีคำพูดแบบของตัวเอง ทำให้คำขอบคุณที่เป็นมาตรฐานของแต่ละท้องถิ่นอาจจะแตกต่างกันไปด้วย

คำขอบคุณมาตรฐาน "Arigatou" และ "Arigatou Gozaimasu"

ก่อนอื่นมาทำความรู้จักคำที่ใกล้เคียงกับ "Arigatou" "Arigatou Gozaimasu" กันก่อนนะครับ

จังหวัดไอจิ:Arigatou san

จังหวัดจิบะ: Angatou

จังหวัดฮิโรชิมะ: Arigatou arimasu /  Arigatou no
"arigatou arimasu" เป็นคำที่ไม่ค่อยใช้ในปัจจุบันแล้ว แต่สำหรับคนมีอายุหลายๆ คนนั้นก็ยังใช้กันอย่างคุ้นเคยเป็นอย่างดีครับ

จังหวัดอิวาเตะ: Arigatou gansu
ในส่วนของอำเภอโมริโอกะของจังหวัดอิวาเตะนั้น การพูดรูปสุภาพที่ลงท้ายด้วย "-desu" จะถูกเปลี่ยนเป็นภาษาถิ่นว่า "-gansu" "Sode gansu nasu (So desu yone)" "Sode na gansu (So dewa arimasen)" สรุปว่า "Arigatou gansu" ก็คือรูปสุภาพของ "Arigatou" นั่นเอง

จังหวัดคากาวะ:Arigatou de

จังหวัดคาโกชิมะ: Arigatou gozasu

จังหวัดนากาซากิ: Arigatou gozasu

จังหวัดนากาโนะ/จังหวัดโอคายามะ: Arigatou gozansu

จังหวัดซากะ: Aigatou

จังหวัดไซตามะ: Aigato na

จังหวัดยามานาชิ: Arigatou goisu
ภาษาถิ่นของจังหวัดยามานาชิเรียกว่า "Koshuben" หากต้องการพูดในรูปสุภาพต้องพูดว่า "Arigatai kondegoizu" แต่หากจะพูดในลักษณะที่ไม่เป็นทางการนั้นสามารถพูดว่า "Warii janne" ได้อีกด้วย "Warui" = "ขอโทษด้วยที่ทำให้ต้องเดือดร้อน"

คำว่า "Okini" ที่ใช้กันทั่วภูมิภาคคันไซ

ต่อมาจะเป็นการนำเสนอคำว่า "Okini" ซึ่งใช้เป็นภาษาถิ่นไปทั่วภูมิภาคคันไซ
"Okini" นั้นมาจากคำว่า "Oini (อย่างมาก)" หรือคำว่า "Hijoni (มากกว่าปกติ)" ซึ่งให้ความหมายว่า "ขอบคุณเป็นอย่างมาก" โดยใช้เพื่อเน้นแสดงความขอบคุณ

จังหวัดเกียวโต/จังหวัดโอซาก้า/จังหวัดนาระ/จังหวัดจิกะ/จังหวัดโออิตะ:Okini

จังหวัดเฮียวโกะ:Okini / Arigatou omasu

จังหวัดมิเอะ:Okin na

จังหวัดชิสุโอกะ:Okini / Okin naa

จังหวัดวากายามะ:Okini yo

จังหวัดอาคิตะ:Ogi ni

จังหวัดมิยาซากิ:Oki n / Aigato guwashita

ภาษาถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ในส่วนของภูมิภาคต่างๆ

จังหวัดอาโอโมริ:Arigato gosu / Meyagu da
ที่จังหวัดอาโอโมริมีคำที่มีความหมายขอบคุณใช้กันอยู่หลายคำเลยทีเดียวครับ "Meyagu da" เป็นคำหนึ่งที่ใช้ในแถบซึคารุ คำว่า "Meguya" นั้นมีความหมายว่า "ขอโทษที่ต้องรบกวน" อีกด้วยครับ

จังหวัดชิมาเนะ/จังหวัดเอฮิเมะ:Dan dan
"Dan dan" นั้นมีความหมายที่ว่า "เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ" โดยใช้ในความหมายที่ว่า "ขอบคุณเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ (Dan dan arigato gozaimashita)"

จังหวัดทตโตริ:Dan dan / Yokoso

จังหวัดคุมาโมโตะ:Chou jou / Dan dan
"Chou jou" นั้นมาจากคันจิ "重畳" ที่มีความหมายว่า "เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ" โดยถูกนำมาใช้ในการแสดงความรู้สึกขอบคุณอย่างสุภาพครับ
"Dan dan" นั้นเป็นคำที่ไม่ใช้โดดๆ แต่จะใช้ในลักษณะว่า "Dan dan na" ต่อท้ายมากกว่า

จังหวัดอิชิกาวะ:Kinodokuna / Anya to
ที่จังหวัดอิชิกาวะนั้นคำว่า "Kinodokuna" มีความหมายดั้งเดิมในการขอโทษ "ที่สร้างความเดือดร้อนให้แก่คนอื่น" โดยมีการใช้คำเดียวกันในจังหวัดโทยามะหรือฟุคุอิอีกด้วย ส่วนใหญ่มักใช้ต่อกับคำว่า "Ara" ซึ่งเป็นคำอุทานว่า "Ara kinodokuna" เสียส่วนใหญ่

จังหวัดฟุคุอิ:Kinodokuna / Ouki nou

จังหวัดกิฟุ:Kinodoku / Utate-

จังหวัดโทยามะ:Gochiso sama / Kinodoku

จังหวัดนีกาตะ:Gochiso sama desu
คำว่า "Gochiso sama" ที่ใช้แสดงความขอบคุณหลังทานอาหารเสร็จนั้นในจังหวัดนีกาตะจะหมายถึง "Arigato" อีกด้วย เป็นคำที่คุ้นเคยกันดีในหมู่ผู้ใหญ่โดยเฉพาะเมื่อได้รับสิ่งของจากคนอื่น

จังหวัดฟุคุชิมะ:Taihen / Shite moratte
ที่จังหวัดฟุคุชิมะนั้นมีความน่าสนใจอย่างยิ่ง โดยใช้คำว่า "Taihen" ซึ่งโดยปกติแล้วเป็นคำที่ใช้เน้นหน้าคำวิเศษณ์อื่นๆ หรือใช้แสดงความยากลำบากของสถานการณ์ แต่ที่นี่กลับใช้ในความหมายของการขอบคุณ ส่วนคำว่า "Shite moratta" ตัวอย่างเช่น "Kami wo kitte moratta (ตัดผมให้เรา)" กลับมาถูกใช้ในรูป "Shite moratte" ซึ่งมีความหมายถึงการขอบคุณเช่นกัน

จังหวัดฮอกไกโด:Iya tasukatta
เมื่อถูกช่วยเหลืออะไรสักอย่างหนึ่งเราจะใช้คำว่า "Iya tasukatta" โดยในฮอกไกโดจะมีความหมายเป็นการขอบคุณ แม้เมืองจะหนาวแต่ผู้คนที่นี่นั้นอบอุ่นครับ

จังหวัดมิยากิ:Manzu domo ne
"Manzu" นั้นแปลว่า "จริงๆ" โดยถูกนำมาใช้ร่วมกับคำว่า "Domo" ในความหมายของการขอบคุณ ทำให้แปลว่า "ขอบคุณจริงๆ" นะ "Domo ne" เป็นคำที่ค่อนข้างนิยมใช้ในจังหวัดมิยากิมาก โดยใช้ในอีกความหมายหนึ่งว่า "แล้วเจอกันใหม่" อีกด้วย

จังหวัดโทคุชิมะ/จังหวัดโคจิ:Tamaruka
"Tamaruka" แต่เดิมมักอยู่ในรูปปฏิเสธบ่งบอกถึงการตั้งใจจะไม่ทำอะไรสักอย่าง "-te tamaruka" แต่ในจังหวัดโทคุชิมะและโคจินั้นเป็นคำพูดที่ใช้ในการแสดงความขอบคุณครับ

จังหวัดยามากาตะ:Oshou shina
"Oshou shina" เป็นภาษาถิ่นยามากาตะที่ใช้ในอำเภอโยเนซาวะอีกคำหนึ่ง โดยมีความหมายเดิมมาจากคำว่า "Shoshi" ซึ่งแปลว่าไร้สาระ โดยมีที่มาจากเวลาที่รู้สึกเหนียมอายเมื่อถูกกล่าวชมจากคนอื่น นอกจากนี้ยังกลายเป็นรูปสุภาพเมื่อพูดว่า "Oshou shina" หรือเมื่อพูดแบบแฟรงก์ๆ ก็จะกลายเป็น "Osho osho" ซ้ำกันสองครั้งอีกด้วย

จังหวัดยามากุจิ:Taegatou gozaimasu
"Taegatai" นั้นเป็นภาษาญี่ปุ่นที่เดิมแปลว่าทุกข์ยากจนทนไม่ไหว แต่ในภาษาถิ่นยามากุจินั้น "Taegatai" จะแปลว่าขอบคุณ โดยเปลี่ยนจาก "Arigato gozaimasu" มาเป็น "Taegato gozaimasu" นั่นเองครับ


จังหวัดโอกินาวะ:Nihe de biru
ภาษาท้องถิ่นของโอกินาวะนั้น "Nihe de biru" โดยบนเกาะหลักของโอกินาวะนั้นยังมีคำว่า "Uchina guchi" ที่แปลว่าขอบคุณอีกด้วย คำว่า Uchina guchi ก็มีความหมายเดียวกับ Nihe de biru โดยมีที่มาจาก "Nihe (arigato)" และ "De biru (gozaimasu)" มารวมกันเป็น "Arigato gozaimasu" โดยนำไปใช้เป็นรูปสุภาพสำหรับพูดกับผู้หลักผู้ใหญ่หรือใช้กับคนทั่วไปก็ได้ครับ

แน่นอนว่าคำว่า "Arigatou" เป็นคำในภาษากลางที่สามารถใช้ได้ทั่วญี่ปุ่นครับ จึงไม่ได้ถึงขนาดจะต้องท่องจำคำพวกนี้ไปใช้ในแต่ละจังหวัดขนาดนั้น แต่ถ้าได้ไปโอซาก้าซื้อทาโกะยากิมาทานแล้วพูดคำว่า "Okini" ละก็ คงทำให้มีบรรยากาศสนุกสนานเพิ่มขึ้นอีกไม่น้อยเลยครับ

หากมีคำถาม คำแนะนำ หรือข้อเสนอแนะใดๆ เกี่ยวกับบทความของเรา สามารถติดต่อและติดตามเราผ่านทางเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ และอินสตาแกรม ได้เลย !

เนื้อหาในบทความนี้ อัพเดทล่าสุด ณ วันที่เผยแพร่

รับส่วนลดมากมายในญี่ปุ่น ที่นี่!

เกี่ยวกับนักเขียน

Keisuke
Keisuke Tsunekawa
เป็นคนญี่ปุ่นที่ชอบหลีกหนีจากชีวิตในเมืองโตเกียวเป็นครั้งคราว เพื่อค้นพบเส้นทางใหม่ๆ รวมถึงท่องเที่ยวในประเทศอื่นๆ ซึ่งทำให้รู้สึกว่าได้สนุกกับการเชื่อมโยงกับสิ่งที่แตกต่างไปจากที่เคยทำเคยเห็นในชีวิตประจำวัน
  • แผนการท่องเที่ยวคัดสรรค์โดยนักเขียน tsunagu Japan!

ค้นหาร้านอาหาร